นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-corruption Policy)
ด้วยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นควรให้กำหนดนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ดังนี้
บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยในปี 2560 บริษัทได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งกำหนด “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัท นำไปปฏิบัติโดยทั่วกัน
คำนิยาม
การทุจริต/คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนของบริษัท ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย หลักธรรมาธิบาลที่ดี และมีแนวทางปฏิบัติในการต่อต้าน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
- กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
- กรรมการ และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยบริษัทจะทำการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านการจัดอบรมและการปฐมนิเทศน์ หรือจะติดประกาศภายในบริษัท หรือเปิดเผยนโยบายบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
แนวปฏิบัติ
- กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานของบริษัททุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด
- พนักงานบริษัท ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัทกำหนดไว้
- บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส หรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
- ผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ชื่อของบริษัทถือเป็นการกระทำผิด ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
มาตรการดำเนินการของบริษัท
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายต่างๆ ขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกระดับยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ และให้สื่อสารกับพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบในนโยบายต่างๆ ของบริษัท ซึ่งนโยบายของบริษัท ประกอบด้วย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- นโยบายต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
- นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับ-ให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, การเลี้ยงรับรอง, การบริจาค, การสนับสนุน และการช่วยเหลือทางการเมือง
- คู่มือจัดซื้อจัดจ้าง
- คู่มือจริยธรรม นโยบายและระเบียบข้อบังคับของพนักงาน
- คู่มือสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ
- นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครอง
- คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ
การร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน
บริษัท จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่แจ้งเบาะแสหรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท รวมถึงพนักงานที่ปฏิเสธ ต่อการกระทำ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower Policy) ผู้ที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-corruption Policy)
ด้วยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นควรให้กำหนดนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ดังนี้
บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยในปี 2560 บริษัทได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งกำหนด “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัท นำไปปฏิบัติโดยทั่วกัน
คำนิยาม
การทุจริต/คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนของบริษัท ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องตามกฎหมาย หลักธรรมาธิบาลที่ดี และมีแนวทางปฏิบัติในการต่อต้าน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
- กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
- กรรมการ และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยบริษัทจะทำการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านการจัดอบรมและการปฐมนิเทศน์ หรือจะติดประกาศภายในบริษัท หรือเปิดเผยนโยบายบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
แนวปฏิบัติ
- กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานของบริษัททุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด
- พนักงานบริษัท ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัทกำหนดไว้
- บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส หรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
- ผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ชื่อของบริษัทถือเป็นการกระทำผิด ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
มาตรการดำเนินการของบริษัท
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายต่างๆ ขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกระดับยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ และให้สื่อสารกับพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบในนโยบายต่างๆ ของบริษัท ซึ่งนโยบายของบริษัท ประกอบด้วย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- นโยบายต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
- นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับ-ให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, การเลี้ยงรับรอง, การบริจาค, การสนับสนุน และการช่วยเหลือทางการเมือง
- คู่มือจัดซื้อจัดจ้าง
- คู่มือจริยธรรม นโยบายและระเบียบข้อบังคับของพนักงาน
- คู่มือสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ
- นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครอง
- คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ
การร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน
บริษัท จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่แจ้งเบาะแสหรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท รวมถึงพนักงานที่ปฏิเสธ ต่อการกระทำ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower Policy) ผู้ที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย